การศึกษาภาษาอังกฤษกับเด็กไทยมักเป็นของคู่กัน ถ้าจะให้เปรียบกับบางสิ่ง คงจะเปรียบเสมือน ปาท่องโก๋ ที่ต้องอยู่ติดกันเป็นคู่แต่ก็ยังนับว่า หนึ่งตัว ทำไมผู้เขียนจึงเอาภาษาอังกฤษกับการศึกษามาเปรียบเสมือนกับปาท่องโก๋ อาจจะเป็นเพราะว่าการเริ่มต้นการจัดการเรียนภาษาอังกฤษนั้นมีมานานก่อนที่จะมีการศึกษาภาคบังคับเสียอีก ซึ่งถ้าจะให้เท้าความคงต้องท้าวคามยาวตั้งแต่ การที่มีฝรั่งชาวต่างประเทศ ได้เริ่มเข้ามาติดต่อ ทางสัมพันธไมตรี ทางการค้า และเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ วิทยาการต่าง ๆ ของชาวตะวันตก ก็ได้เข้ามาเผยแพร่มากขึ้น เริ่มมีการสอนหนังสือภาษาอังกฤษ ขึ้นในพระบรมมหาราชวังแก่เชื้อพระวงศ์ฝ่ายใน
(http://allknowledges.tripod.com/historyofthaieducation.html)
จนบางคนเริ่มมีคำถามในใจแล้วเกี่ยวอะไรด้วยกับความจำเป็นต้องมีอาเซียน แล้วอาเซี่ยนคืออะไร ทำไมคนไทยหรือแม้กระทั้งชาวเอเชียยังต้องตื่นเต้น
อาเซี่ยน (Asean) นั้นความจริงแล้วมาจากคำว่า Association of South East Asian Nations ซึ่งมีความหมายว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นองค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด๑๐ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า
อาเซียน มีพื้นที่ราว ๔,๔๓๕,๕๗๐ ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว ๕๙๐ ล้านคน อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไป
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้มีการลงนามใน "ปฏิญญากรุงเทพ" อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐที่เป็นสมาชิกเริ่มต้น ๕ ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติหลังจาก พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี ๑๐ ประเทศในปัจจุบัน
กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการกำหนดเขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.๒๕๕๓ และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน โดยมีการร่วมมือกันในด้านต่างๆประกอบด้วยสามด้าน คือ ๑) ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ๒ )ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและประชาคมสังคม และ ๓) วัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘
และการเปิดประตูการค้าของเมืองไทย ให้เป็นเขตการค้าเสรีตามข้อตกลงที่ได้ทำขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ ๖ ประการ คือ ๑)ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด ๒) รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ ๓) จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ ๔) ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ ๕) ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง ๖) ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
(wikipidea : 2554)
เมื่อได้ทราบอย่างนี้แล้วผู้อ่านคิดว่า จำเป็นไหมที่ต้องมีอาเซี่ยน เด็กไทยพร้อมแล้วหรือยังกับ การแข่งขันที่จะเริ่มต้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า