12/23/2011

การศึกษาภาษาอังกฤษของเด็กไทยกับการก้าวสู้ประชาคมอาเซี่ยน

การศึกษาในประเทศไทย ได้มีมาแล้วหลายร้อยปี แต่ถ้ากล่าวถึงการศึกษาภาคบังคับในประเทศไทยนั้น เริ่มมีขึ้นเริ่มมีขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2464

(คณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทำหนังสือเมืองไทยของเรา เล่ม 2: หน้า 104.)

ตามกฎหมายไทย รัฐบาลจะต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบให้เปล่าแก่ประชาชนเป็นเวลา 12 ปี ส่วนการศึกษาภาคบังคับในปัจจุบันกำหนดไว้ 9 ปี ระบบโรงเรียนที่ถูกจัดไว้มีตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้นตามลำดับ แต่หลังจากจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว บุคคลสามารถเลือกได้ระหว่างศึกษาต่อสายสามัญในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเลือกศึกษาสายวิชาชีพ หรืออาจเลือกศึกษาต่อในสถาบันทางทหารหรือตำรวจ

ในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะต้องผ่านระบบการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ซึ่งโดยปกติจะเสร็จสิ้นในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 มหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้รับการยอมรับในระดับสากล ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งติดอยู่ในอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชียจาก QS Asian University Rankings 2011

( http://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2011)

ถึงกระนั้นการศึกษาภาษาอังกฤษของเด็กไทยก็ยังน่าเป็นห่วงอยู่อย่างมาก แม้ว่าปัจจุบันภาครัฐได้มีการกำหนดให้ศึกษาภาษาอังกฤษตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกับการพัฒนาระบบการบริหารการศึกษาของไทย ฉบับแก้ไขฉบับที่ ๒ ปี พุทธศักราช ๒๕๔๒ มาตรา ๒๓ ยังว่าไว้ด้วยว่า การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้ ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง

(พ.ร.บ.การศึกษา: มาตรา ๑๗, ๒๓ (๔))

เด็กไทยก็ยังไม่สามารถใช้อังกฤษซึ่งนับว่าเป็นภาษาสากลในการสื่อสารได้เท่าที่ควรทั้งๆที่ มีการบรรจุไว้ในพระราชบัญญัติเพื่อการศึกษา และหลักสูตรเป็นเวลานาน ซึ่งผู้เขียนในฐานะเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการสอนภาษาอังกฤษ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต จึงมีคำถามในใจว่า ประเทศไทยพร้อมสำหรับเข้าร่วมประชาคมอาเซี่ยนที่จะเริ่มในอีกไม่กี่ปีที่จะถึงนี้แล้วหรือยัง ถ้ายังประเทศไทยมีปัจจัยอะไรเป็นตัวแปรสำคัญทำให้เด็กไทยไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้เท่าที่ควร และถ้าหากประเทศไทยได้ตะหนักถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบเด็กไทย จึงทำให้เด็กไทยสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ไม่แพ้ชาติอื่นๆและพร้อมสำหรับเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยนอย่างแท้จริง